คำค้นหายอดนิยม ‘อ่านนิทาน’

วันศุกร์, มกราคม 23rd, 2015

วันนี้มีนิทานพื้นบ้านสนุกๆ เรื่องกระต่ายสามขา มาฝากเพื่อนๆน้องๆ ซึ่งนิทานเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับ สำนวนไทยที่ว่า ” ยืนกระต่ายสามขา , ยืนกระต่ายขาเดียว ” เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามอ่านกันได้เลยจ้า …

นิทานพื้นบ้าน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีญาติโยมนำกระต่ายย่างมาถวายหลวงพ่อที่วัด  หลวงพ่อก็ให้เด็กวัดนำไปเก็บไว้สำหรับเป็นอาหารเพล แต่กลิ่นของกระต่ายย่างนั้นช่างหอม ยั่วยวนใจยิ่งนัก ทำให้เด็กวัดอดใจไว้ไม่ไหว เด็กวัดจึงฉีกขากระต่ายย่างออกมากินไปหนึ่งขา
(เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานพื้นบ้าน | 2 Comments »

วันพฤหัส, ธันวาคม 18th, 2014

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ต้นสนบนยอดเขาแห่งหนึ่ง พูดกับพุ่มไม้ว่า เธอดูฉันซี ฉันทั้งสูงทั้งแข็งแรง ทั้งสง่าและงามเพียงใด แต่… ดูตัวเธอสิมีดีอะไร ? ตัวของเล็ก ดูน่าเกลียด และไม่มีระเบียบเอาเสียเลย ”

นิทานอีสปเมื่อพุ่มไม้ได้ฟังเช่นนั่น พุ่มไม้พุ่มนั้นไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะมันรู้ดีว่า ต้นสนนั้นพูดถูก

อยู่มาวันหนึ่ง มีชายสองคนได้แบกขวานเดินขึ้นมาบนภูเขาแห่งนี้
ทันใดนั้น… ชายทั้งสองก็ลงมือตัดโค่นต้นสนต้นนั้นลงทันที เพราะเขาต้องการจะเอาไม้นั้นมาปลูกบ้านใหม่
(เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานอีสป | No Comments »

วันอังคาร, ธันวาคม 2nd, 2014

วันนี้ทางเว็บนิทานร้อยแปด มีนิทานวรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องกาฬเกษ (ฉบับย่อ) มาฝากเพื่อนๆน้อง เรื่องมีอยู่ว่า

นิทาน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว… ณ เมืองพาราณสี มีพระราชาองค์หนึ่งนามว่า ” สุริวงษ์ ” และพระมเหสีนามว่า ” กาฬ “  ท้าวสุริวงษ์มีม้ามณีกาบ ซึ่งเป็นม้าวิเศษเป็นพาหนะคู่บารมี

ครั้งหนึ่งท้าวสุริวงษ์ได้ไปเรียนวิชาอาคม โดยมีม้ามณีกาบเป็นพาหนะ และได้พบกับพญาครุฑ และยักษ์กุมภัณฑ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นสหายกัน ท้าวสุริวงษ์ก็เรียนวิชาอาคมกับพระฤาษีจนสำเร็จ แล้วกลับมาปกครองเมืองต่อไป
(เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานพื้นบ้าน | 4 Comments »

วันอาทิตย์, ตุลาคม 19th, 2014

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีชายสองคนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกัน อยู่มาวันหนึ่งทั้งสองได้ชวนกันไปเฝ้าเทพซีอุส ผู้เป็นราชาแห่งเทพเจ้าทั้งปวง

นิทาน

เทพซีอุสเป็นผู้รอบรู้ ท่านสามารถอ่านใจคนได้ ทำให้รู้ว่าชายคนแรกนั้นเป็นคนที่มีแต่ความโลภ ส่วนชายอีกคนหนึ่งในใจของเขามีแต่ความอิจฉาริษยา (เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานอีสป | No Comments »

วันอังคาร, กันยายน 16th, 2014

นิทานเรื่องนี้เป็นที่นิทานพื้นบ้านของชาวเขาชาวดอยภาคต่อของ นิทานเรื่อง กำเนิดอาข่า

… หลังจากที่ชนเผ่าทั้งใหญ่น้อยต่างคนต่างอยู่ แต่เผ่าต่างๆก็ยังโดดเดี่ยวอ้างว้าง มีความเงียบเหงาไม่สนุก ไม่มีคู่ครองไว้ดำรงเผ่าพันธุ์

นิทาน

เมื่อเป็นเช่นนั้นทุกเผ่าพันธุ์จึงได้พร้อมใจกันไปขอคู่ครองกับพระเจ้า ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกเชื้อชาติต่างทยอยไปหาพระเจ้าเพื่อเลือกคู่ เว้นต่างอ่าข่าที่ยังไม่ได้มา เพราะมัวต่างทำไร่อยู่ (เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , , , , ,
Posted in นิทานพื้นบ้าน | No Comments »

วันอังคาร, กันยายน 2nd, 2014

วันนี้มีนิทานพื้นบ้านทางภาคเหนือมาฝากน้องๆ เป็นเรื่องเล่าของชาวเขาชาวดอย(นิทานอ่าข่า) ชื่อเรื่อง กำเนิดอ่าข่า เรื่องมีอยู่ว่า …

นิทานกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หลังจากที่น้ำได้ท่วมโลก สิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลกก็ได้ล้มหายตายจากกันหมดสิ้น ยกเว้นคนๆหนึ่งที่มีชื่อว่า “ ถ่องผ่อง ”  เขามีชีวิตรอดมาได้อย่างหวุดหวิด
(เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , , , , ,
Posted in นิทานพื้นบ้าน | 1 Comment »

วันอาทิตย์, สิงหาคม 24th, 2014

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีลูกหนูจอมซุกซนตัวหนึ่ง  มันชอบหนีออกไปเที่ยวนอกรังด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยู่บ่อยครั้ง  เมื่อมันกลับจากเที่ยวก็รีบมาเล่าเรื่องราวที่ได้ไปพบเห็นให้แม่หนูฟังด้วยความตื่นเต้น

นิทานอีสป

“ แม่จ๋า ^ o ^ หนูไปพบกับสัตว์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนตั้งสองตัวแหน่ะ  ตัวหนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่ากลัวและชอบส่งเสียงดัง  ส่วนสัตว์อีกตัวที่พบท่าทางใจดีและสุภาพ  หนูเกือบจะได้เข้าไปคุยกับเขาแล้ว ถ้าเจ้าสัตว์ที่หน้าน่ากลัวตัวนั้น ไม่ส่งเสียงร้องจนหนูตกใจ  เลยต้องรีบวิ่งหนีกลับมาหาแม่นี่แหละ ”

“ แล้วเจ้าสัตว์ที่เจ้าว่าหน้าตาน่ากลัวนั้นมีลักษณะอย่างไรหรือลูก ” แม่หนูถาม (เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานอีสป | 4 Comments »

วันจันทร์, สิงหาคม 11th, 2014

นิทานพื้นบ้านเรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวนไทยที่ว่า “ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก “  ซึ่งถูกเล่าต่อๆกันมาว่า…

นิทานพื้นบ้าน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพระราชาองค์หนึ่งเสด็จป่าพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย ซึ่ง ในป่าแห่งนั้นมีต้นตะโกเป็นจำนวนมาก เมื่อเทวดาทราบข่าวว่าพระราชาจะเสด็จมา เทวดานึกสนุกจึงได้เนรมิตต้นตะโกใหญ่ต้นหนึ่งให้เป็นต้นมะพลับที่มีลูกสุกเหลืองอร่าม หอมหวลชวนน่ารับประทาน (ลูกมะพลับนั้นกินได้ อร่อย ส่วนลูกตะโกก็กินได้ แต่มีรสฝาดกินไม่อร่อย) เมื่อพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงอยากจะเสวย (เพิ่มเติม…)

Tags: , , , , , ,
Posted in นิทานพื้นบ้าน | 4 Comments »