นิทานพื้นบ้านเรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวนไทยที่ว่า “ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก “  ซึ่งถูกเล่าต่อๆกันมาว่า…

นิทานพื้นบ้าน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพระราชาองค์หนึ่งเสด็จป่าพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย ซึ่ง ในป่าแห่งนั้นมีต้นตะโกเป็นจำนวนมาก เมื่อเทวดาทราบข่าวว่าพระราชาจะเสด็จมา เทวดานึกสนุกจึงได้เนรมิตต้นตะโกใหญ่ต้นหนึ่งให้เป็นต้นมะพลับที่มีลูกสุกเหลืองอร่าม หอมหวลชวนน่ารับประทาน (ลูกมะพลับนั้นกินได้ อร่อย ส่วนลูกตะโกก็กินได้ แต่มีรสฝาดกินไม่อร่อย) เมื่อพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงอยากจะเสวย

พระราชามีรับสั่งให้มหาดเล็กไปเก็บมาให้เสวย และทรงให้แจกจ่ายพวกข้าราชบริพารที่ติดตามมาด้วย รับประทานกันอย่างอเร็ดอร่อย พระราชาทรงพอพระทัยติดอกติดใจในรสชาดของลูกมะพลับนั้นมาก

นิทาน

เมื่อพระองค์ก็เสด็จกลับเข้าวังไป อีกสองสามวันต่อมาพระองค์ทรงคิดถึงลูกมะพลับนั้นขึ้นมาอีก จึงใช้มหาดเล็กให้ไปเก็บลูกมะพลับต้นนั้นมาเสวยอีก

เมื่อมหาดเล็กไปถึงบริเวญป่าที่มีต้นมะพลับต้นนั้นอยู่ เทวดาก็ไม่ได้เนรมิตแล้ว คลายฤทธิ์แล้วก็เป็นต้นตะโกดังเดิม ทำให้มหาดเล็กไม่เห็นต้นมะพลับเลย เห็นแต่ต้นตะโกทั้งนั้น

มหาดเล็กกลับไปกราบทูลพระราชาว่า ” ไม่มีพระเจ้าข้า ต้นมะพลับไม่มีแล้วมีแต่ต้นตะโก ” ด้วยเหตุนี้ ทำให้โบราณจึงมีคำเปรียบเทียบไว้ว่า “ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก ” ซึ่งมีความหมายว่า ต่อหน้าอีกอย่าง ลับหลังีกอย่างหนึ่ง

Tags: , , , , , ,
หมวดหมู่นิทาน นิทานพื้นบ้าน | 4 ความคิดเห็น »